
บทความวันนี้เราจะมาแนะนำว่าหากต้องการสั่งซื้อแผ่นเหล็กเคลือบจากบริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด นั้นมีข้อมูลใดบ้างที่ต้องเตรียม ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดในแต่หัวข้อเป็นคำแนะนำในการสั่งซื้อ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาอ่านทุกท่าน ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของท่าน โดยจะแบ่งเป็นทั้งหมด 6 ขั้นตอนสำคัญ ไปดูกันเลย!
เริ่มต้นจากเลือกประเภทของเหล็กแผ่น ผู้สั่งซื้อควรที่จะระบุประเภทของเหล็กแผ่นที่ต้องการนำไปใช้งาน โดยเป็นการระบุรายละเอียดเช่น เกรดโลหะพื้นฐานระบุเป็นสัญลักษณ์มวลเคลือบสังกะสี ชนิดวัตถุดิบ สัญลักษณ์ชั้นคุณภาพ โดยรหัสมาตรฐานเราจะแยกเป็นสัญลักษณ์รหัส 3 แถวดังรูป โดยจะอธิบายลงลึกในหัวข้อนี้
สำหรับสัญลักษณ์แถวที่ 1 จะมีตัวเลือกเป็นรหัส SP และ SE ซึ่งเป็นคำย่อมาตราฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อระบุประเภทของเหล็กแผ่นที่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน
SP (Steel Plate)
SP ย่อมาจาก Steel Plate ซึ่งหมายถึงเหล็กแผ่น โดยทั่วไป SP จะใช้กับเหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold Rolled) หรือเหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot Rolled) ที่ใช้ในงานทั่วไป
SE (Steel Electrogalvanized)
SE ย่อมาจาก Steel Electrogalvanized ซึ่งหมายถึงเหล็กแผ่นที่ผ่านการเคลือบสังกะสีด้วยกระบวนการไฟฟ้า (Electrogalvanization) เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
รหัสที่ใช้ในมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อระบุประเภทของเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยตัวอักษรที่ 2 ในรหัสนี้มีให้เลือกเป็นรหัส C และ F
สัญลักษณ์รหัส C
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นคุณภาพเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสำหรับงานทั่วไป
สัญลักษณ์รหัส F
หมายถึงเหล็กแผ่นที่มีคุณสมบัติในการขึ้นรูปดีเยี่ยม เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการขึ้นรูปที่ซับซ้อน
ในมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น รหัสหลักที่ 3 ของแต่ละประเภทเหล็กมีความหมายเฉพาะเจาะจงที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติโดยจะอธิบายดังต่อไปนี้
C (Commercial)
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นคุณภาพเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสำหรับงานทั่วไปในการผลิต
D (Drawing)
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปได้ดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการดึงขึ้นรูป เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการความละเอียดในระดับหนึ่ง
E (Elongation)
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปลึกได้ดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการดึงขึ้นรูปลึกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนที่มีรูปทรงซับซ้อน
F (Formability)
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปลึกและประกันการไม่เกิดริ้วครากและรอยยับในระยะเวลาหนึ่ง งานที่ต้องการการขึ้นรูปที่ซับซ้อนและต้องการความทนทานต่อการดึงขึ้นรูป เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีรูปทรงซับซ้อน
G (Extra-Deep Drawing)
หมายถึงเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปลึกพิเศษและประกันการไม่เกิดริ้วครากและรอยยับในระยะเวลาหนึ่ง ใช้ในงานที่ต้องการขึ้นรูปแผ่นเหล็กที่ซับซ้อนมาก เช่น แผงภายในรถยนต์
รหัส : SECC
- คุณสมบัติ : เหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความต้านทานการกัดกร่อน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, บอดี้ของเครื่องปรับอากาศ, และชิ้นส่วนที่ต้องการการป้องกันการเกิดสนิม
รหัส : SPCC
- คุณสมบัติ : เหล็กคาร์บอน แผ่นรีดเย็นสำหรับงานทั่วไป
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับงานใช้งานทั่วไป เช่น งานโครงสร้างทั่วไป, ราง และตู้สวิตช์บอร์ด เป็นต้น
รหัส : SPCD
- คุณสมบัติ : เหล็กแผ่นรีดเย็นสำหรับงานดึงขึ้นรูป ที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปได้ดี
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการดึงขึ้นรูป เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการความละเอียดและความแข็งแรง
รหัส : SPCE
- คุณสมบัติ : เหล็กแผ่นรีดเย็นสำหรับงานดึงขึ้นรูปลึก ที่มีคุณสมบัติในการดึงขึ้นรูปลึกได้ดี
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการดึงขึ้นรูปลึก เช่น ชิ้นส่วนที่มีรูปทรงซับซ้อน, ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องการรับแรงกระทำหนัก ๆ
ในขั้นตอนที่ 2 ก่อนจะจัดซื้อเหล็กแผ่นจาก บริษัท เหล็กแผ่นเคลือบไทย จำกัด จำเป็นต้องระบุกระบวนการทางเคมีที่เคลือบแผ่นเหล็กแบบพิเศษและระบุว่าให้เหล็กแผ่นที่สั่งซื้อต้องเคลือบน้ำมันหรือไม่
รหัส V และ VN
ลักษณะเฉพาะ : ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบด้วยเรซิ่นชนิดพิเศษและปราศจากโครเมต
คุณสมบัติ :
- ป้องกันลายนิ้วมือ
- การนำไฟฟ้า
รหัส P และ PV / PY
ลักษณะเฉพาะ : ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบด้วยฟอสเฟต
คุณสมบัติ :
- เป็นสีรองพื้นก่อนทาสี
รหัส MM
ลักษณะเฉพาะ : ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี
คุณสมบัติ :
- เป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐาน
- ไม่มีการเคลือบสารเคมีเพิ่มเติม
การเลือกเหล็กแผ่นเคลือบว่าจะเคลือบน้ำมันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าในขั้นตอนระหว่างที่ขนส่งเหล็กมายังโรงงานต้องใช้เวลานานมีความเสี่ยงที่ตัวเหล็กม้วนจะโดนฝน หรือเราซื้อเหล็กม้วนมาแล้วจำเป็นต้องจัดเก็บในสถานที่ ที่ไม่ได้คุมความชื่นมาก การเคลือบน้ำมันช่วยป้องกันการเกิดสนิมได้
รหัส X : ไม่มีการเคลือบน้ำมัน
รหัส N : มีการเคลือบน้ำมัน
สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการระบุว่าจะนำแผ่นเหล็กเคลือบไปใช้งานอย่างไร นำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนของอะไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้กับทางบริษัทได้กำหนดลักษณะทางวิศวกรรมของเหล็กแผ่นได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
ประเภทการใช้งาน
- ยานยนต์ : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น โครงรถ, ประตู, ฝากระโปรง, และชิ้นส่วนภายใน
- เครื่องใช้ไฟฟ้า : ใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า, เครื่องปรับอากาศ
- การก่อสร้าง : ใช้ในงาน หลังคา, ผนัง
ลักษณะการใช้งาน
- การขึ้นรูป : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการการขึ้นรูปแบบใด เช่น การดึงขึ้นรูป, การดึงขึ้นรูปลึก
- การเชื่อมต่อ : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการการเชื่อมต่อแบบใด เช่น การเชื่อมด้วยแก๊ส, การเชื่อมด้วยไฟฟ้า
- การเคลือบสี : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการ นำไปพ่นสีหรือไม่
คุณสมบัติพิเศษที่ต้องการ
- ความต้านทานการกัดกร่อน : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการความต้านทานการกัดกร่อนระดับใด
- ความทนทานต่อความร้อน : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการความทนทานต่อความร้อนระดับใด
- ความแข็งแรง : ระบุว่าชิ้นส่วนต้องการความแข็งแรงระดับใด
การปั๊มขึ้นรูป (Stamping)
- ลักษณะ : การใช้พั้นช์และดายในการตัดและขึ้นรูปแผ่นเหล็กให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
การดัดขึ้นรูป (Bending)
- ลักษณะ : การดัดแผ่นเหล็กให้เป็นมุมหรือรูปร่างตามที่ต้องการโดยไม่เปลี่ยนแปลงความหนาของแผ่นเหล็ก
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการมุมหรือรูปทรงเฉพาะ เช่น โครงสร้างเหล็ก, ชิ้นส่วนยานยนต์
การลากขึ้นรูปลึก (Deep Drawing)
- ลักษณะ : การดึงแผ่นเหล็กให้เข้าสู่แม่พิมพ์เพื่อสร้างชิ้นงานที่มีรูปร่างลึกและซับซ้อน
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่มีความลึกและรูปทรงซับซ้อน เช่น ถังน้ำมัน, กระป๋อง, ชิ้นส่วนยานยนต์
การรีดขึ้นรูป (Roll Forming)
- ลักษณะ : การรีดแผ่นเหล็กผ่านลูกรีดหลายคู่เพื่อให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการในกระบวนการต่อเนื่อง
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่มีความยาวและรูปทรงซับซ้อน เช่น รางน้ำ, โครงสร้างเหล็ก
การปั๊มนูน (Embossing)
- ลักษณะ : การขึ้นรูปแผ่นเหล็กให้เป็นหลุมหรือปุ่มตื้น ๆ โดยที่ความหนาไม่เปลี่ยนแปลง
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตแผ่นป้ายต่าง ๆ ที่มีตัวอักษรนูน เช่น ป้ายทะเบียนรถ
การปั๊มจม (Coining)
- ลักษณะ : การขึ้นรูปแผ่นเหล็กให้เป็นลวดลายโดยการบีบอัดในแม่พิมพ์ปิด
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตเหรียญและชิ้นส่วนที่ต้องการลวดลายละเอียด
การอัดรีดขึ้นรูป (Extrusion Process)
- ลักษณะ : การบีบอัดโลหะผ่านแม่พิมพ์เพื่อให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่มีความยาวและรูปทรงคงที่ เช่น ท่อ, แท่งเหล็ก
การทุบขึ้นรูป (Forging Process)
- ลักษณะ : การทุบโลหะให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการโดยใช้แรงกดสูง
- การใช้งาน : ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร, ชิ้นส่วนยานยนต์
ในขั้นตอนนี้ผู้จัดซื้อจะต้องระบุน้ำหนักของแผ่นเหล็กเคลือบในหน่วยกิโลกรัมหรือตัน ควรระบุน้ำหนักต่อหน่วยที่ต้องการอย่างชัดเจนเพื่อให้บริษัทสามารถจัดเตรียมและจัดส่งได้ตรงตามความต้องการ หากต้องการการป้องกันพิเศษ เช่น การห่อด้วยพลาสติกหรือการใช้วัสดุป้องกันการกัดกร่อน ควรระบุให้ชัดเจน การระบุน้ำหนักต่อหน่วยและรายละเอียดบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจนจะช่วยให้บริษัทสามารถจัดเตรียมและจัดส่งแผ่นเหล็กเคลือบได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
วัตถุดิบ (เหล็กม้วนรีดเย็น) :
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านใน : 20 นิ้ว หรือ 24 นิ้ว (508 มม. หรือ 610 มม.)
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอก : สูงสุด 76.0 นิ้ว (1,930 มม.)
น้ำหนัก : สูงสุด 22.7 ตัน
คอยล์ผลิตภัณฑ์ :
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านใน : 20 นิ้ว หรือ 24 นิ้ว (508 มม. หรือ 610 มม.)
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอก : สูงสุด 72.8 นิ้ว (1,850 มม.)
น้ำหนัก : สูงสุด 15.0 ตัน
หากเรานำเหล็กแผ่นไปใช้โดยต้องมีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติมก็สามารถระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม ในการสั่งซื้อให้กับเราได้เช่น การปรับสภาพผิวหน้า, ลักษณะขอบ, ลักษณะแผ่นเหล็ก และการเคลือบน้ำมัน เป็นต้น
บทสรุป
ด้วย 6 ขั้นตอน พร้อมคำแนะนำเป็นเบื้องต้นว่าหากต้องการจัดซื้อเหล็กแผ่นเคลือบจะต้องจัดเตรียมข้อมูลอย่างไรบ้าง ด้วยความพร้อมที่จะเข้าไปช่วยคุณให้ทุกธูรกิจให้สามารถเข้าใจถึงวิธีการในการสั่งซื้ออย่างไรบ้าง เรายินดีให้คำปรึกษาเพื่อการใช้งานที่คุ้มค่าเป็นประสิทธิภาพสูงสุด